Pages

Tuesday, September 8, 2020

“หุ่นอัจฉริยะ”ปะทะ“โควิดฯ - สยามรัฐ

mungkinbelum.blogspot.com

จริงดั่งคำนักปราชญ์ท่านว่า “ท่ามกลางวิกฤติ ผู้มีปัญญา ย่อมพลิกเป็นโอกาสได้เสมอ”

ดูอย่างกรณีของ “ญี่ปุ่น” ประเทศเจ้าของฉายาเรียกว่า “ปลาดิบ” บ้าง หรือ “ซามูไร” บ้าง เป็นอาทิ ขณะเผชิญหน้าวิกฤติไวรัสโควิดฯ แพร่ระบาดจนปั่นป่วน ทว่า ในอีกมุมหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งในประเทศแห่งนี้ มีจำนวนปริมาณอย่างเหลือเฟือ ก็ใช้วิกฤตินั้น เป็นโอกาสวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ หรือโรบอต (Robot) แบบ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เอไอ (AI : Artificial Intelligence)” เพื่อช่วยเหลือผู้คน รับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคร้ายดังกล่าว

ด้วยหุ่นยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพด้านการพยาบาลต่างๆ สารพัด ถึง 30 รูปแบบ อาทิเช่น

“หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร”

โดยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ ก็พัฒนาดัดแปลงจากหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพด้านการเสิร์ฟอาหาร ที่ภัตตาคาร หรือร้านอาหารหลายแห่งในญี่ปุ่น ใช้ในการให้บริการแก่ลูกค้าต่างๆ ซึ่งทางผู้วิจัยได้พัฒนาให้สมรรถนะมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจดจำคำสั่งต่างๆ การเคลื่อนที่ในพื้นผิวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสั่งการได้ในระยะไกล สำหรับการให้บริการเสิร์ฟอาหารแก่ผู้ป่วยไวรัสโควิดฯ ที่รักษาตัวตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ วัตถุประสงค์ก็เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสฯ มิให้แพร่ระบาดไปยังบุคคลอื่นๆ ลดการสัมผัสติดต่อระหว่างผู้ป่วยกับคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลง โดยเมื่อผ่านการใช้งานแล้ว หุ่นยนต์ก็เข้ารับการฆ่าเชื้อ ซึ่งทำได้อย่างง่ายดาย สะดวก แถมยังปลอดภัยอีกต่างหาก

“หุ่นยนต์ช่วยการสนทนา”

เป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ที่วิจัยและพัฒนามาจากหุ่นยนต์เพื่อการสื่อสาร เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย สามารถคุยกับญาติ หรือสมาชิกในครอบครัว ผ่านทางอุปกรณ์แท็บเล็ต ที่ติดตั้งมากับหุ่นยนต์ ในอันที่จะลดการใกล้ชิด สัมผัส ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือโซเชียลดิสแทนซิง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของการเชื้อไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้ หุ่นยนต์ดังกล่าว นอกจากใช้เพื่อการสื่อสาร พูดคุยระหว่างผู้ป่วยกับญาติ และสมาชิกครอบครัว แบบรักษาระยะห่างทางสังคมได้อย่างแน่นอนแล้ว ก็สามารถใช้เป็นช่องทางการสนทนาขอคำปรึกษาระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ หรือระหว่างแพทย์กับแพทย์ด้วยกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับการรักษาพยาบาลได้อีกด้วย

โดยหุ่นยนต์ดังกล่าว พัฒนาจากหุ่นยนต์ช่วยการสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีขึ้นเมื่อช่วงก่อนหน้า

“หุ่นยนต์เตียงผู้ป่วยที่สามารถแปลงเป็นรถเข็นได้”

เป็นเอไอโรบอต ที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อลดกำลังคนในการดูแลผู้ป่วย ที่จากเดิมหากเป็นเตียงผู้ป่วยทั่วไป ก็จะต้องใช้พนักงาน 2 คนเป็นอย่างน้อย ก็จะเหลือเพียง 1 คน เท่านั้น สำหรับการดูแลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงมายังรถเข็น หรือจากรถเข็นไปยังเตียง เพราะหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ สามารถดัดแปลงจากเตียงให้เป็นรถเข็น ตามคำสั่งที่ถูกประมวลมา

นอกจากนี้ ก่อนหน้านั้น ในญี่ปุ่นได้เคยวิจัยและพัฒนา “หุ่นยนต์เพื่อสันทนาการ” ขึ้น

โดยหุ่นยนต์ข้างต้น ก็เป็นปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการเพลิดเพลิน ผ่อนคลายอารมณ์ให้แก่ผู้ที่กักตัว ไม่ว่าจะเป็นกักตัวเพื่อรอดูอาการ หรือกักตัวเพื่อแยกผู้ป่วยให้เร้นห่างจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ที่ถูกกักตัวเหล่านี้ ย่อมเกิดความเครียด

โดยหุ่นยนต์ดังกล่าว จะถูกส่งไปยังสถานสันทนาการต่างๆ เช่น สวนสัตว์ เป็นต้น จากนั้นหุ่นยนต์ก็จะบันทึกเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีทัศน์ ทั้งในสัตว์ชนิดต่างๆ ตลอดจนบรรยากาศทั้งหลายภายในสวนสัตว์ ก่อนส่งผ่านไปให้ผู้ถูกกักตัวได้รับชมสัตว์ในสวนสันต์ และบรรยากาศต่างๆ เสมือนหนึ่งว่า ได้มาเที่ยวสวนสัตว์ด้วยตนเองกันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ในการวิจัยและพัฒนาบรรดาหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ข้างต้น ทางบริษัทเอกชน ก็หาได้ดำเนินการอย่างโดดเดี่ยวเดียวดายแต่อย่างใดไม่ ทว่า ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน จากทางการรัฐบาลญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว ผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ที่ผุด “ศูนย์” ในลักษณะ “ศูนย์ให้คำปรึกษา” ขึ้นมาดูแลถึง 11 แห่ง ยืนเคียงข้างกับบริษัทเอกชน ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างเป็นองค์รวม

Let's block ads! (Why?)



"ต่างๆ" - Google News
September 08, 2020 at 02:08PM
https://ift.tt/2ZgC54G

“หุ่นอัจฉริยะ”ปะทะ“โควิดฯ - สยามรัฐ
"ต่างๆ" - Google News
https://ift.tt/36O1zJu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment