Pages

Tuesday, September 1, 2020

บีเอสเอให้ปรึกษาฟรี หนุนธุรกิจไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฤหมาย - ผู้จัดการออนไลน์

mungkinbelum.blogspot.com

ดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | Software Alliance) หรือบีเอสเอชวนธุรกิจป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย เปิดตัวโครงการ ASEAN Safeguard เพื่อสนับสนุนธุรกิจให้เดินหน้าสู่การใช้ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ทั่วทั้งองค์กร

นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ กล่าวว่าจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ทำให้วิถีการทำงานของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างมาก บีเอสเอจึงให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยไซเบอร์ในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก โดยการที่องค์กรต่างๆ มีการทำงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นและสร้างวิถีใหม่ของการปรับใช้นโยบายทำงานจากบ้าน ทำให้ธุรกิจต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านกลลวงออนไลน์ที่ซับซ้อนและแยบยลขึ้น พร้อมสร้างความเสียหายทางธุรกิจได้มากกว่าเดิม

“โครงการ ASEAN Safeguard จึงริเริ่มขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายในภาคธุรกิจต่างๆ โดยพร้อมให้ความสนับสนุนตลอดกระบวนการทำซอฟต์แวร์ให้ถูกลิขสิทธิ์ และช่วยป้องกันความเสียหายจากภัยโจมตีทางไซเบอร์ได้”

บีเอสเอระบุว่าการจัดโครงการ ASEAN Safeguard หรือโครงการติดเกราะป้องกันภัยไซเบอร์แก่ธุรกิจทั่วอาเซียน เป็นการต่อยอดแคมเปญ Legalize & Protect เพื่อให้คำปรึกษาฟรีแก่องค์กรธุรกิจกว่า 40,000 บริษัทในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยบีเอสเอจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่านโครงการ ASEAN Safeguard ซึ่งริเริ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ สามารถเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์ทั่วทั้งองค์กร


จากข้อมูลของพันธมิตรบีเอสเอ เช่น IBM และ McAfee พบว่าภัยคุกคามไซเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทวีความรุนแรงขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ลิขสิทธิ์) อย่างแพร่หลาย ซึ่งมักมาพร้อมกับมัลแวร์หรือช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่เปิดโอกาสให้แฮกเกอร์โจมตีได้ง่าย ในปัจจุบัน บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทยประมาณ 66% ยังคงใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์และมีความเสี่ยงดังกล่าวอยู่

ทั้งนี้ บีเอสเอยังได้เปิดเว็บไซต์เฉพาะกิจ เพื่อแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์และความเสี่ยงต่างๆ จากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์อีกด้วย สำหรับบริการให้คำปรึกษา จะเริ่มจากการแนะนำข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นจะขอความร่วมมือให้ตัวแทนขององค์กรหรือธุรกิจ กรอกแบบสำรวจเกี่ยวกับรายการซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ของบริษัท รวมถึงลิขสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านั้น

บีเอสเอย้ำว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บเป็นความลับ หลังจากนั้น บีเอสเอจะช่วยดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของลิขสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์เพื่อดูว่ามีช่องโหว่ใดหรือไม่ และดำเนินการติดต่อกับผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพื่อให้บริษัทสามารถจัดซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและเหมาะสมต่อการใช้งานได้

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้สนับสนุนการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และแคมเปญ Legalize & Protect ของบีเอสเอมาโดยตลอด เพื่อมุ่งช่วยเหลือการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและกระตุ้นให้ธุรกิจมีความตระหนักรู้และปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดย บก.ปอศ. จะยังให้การสนับสนุนโครงการ ASEAN Safeguard นี้ด้วย
 
พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กล่าวว่าในช่วงวิกฤติโควิด-19 และช่วงการฟื้นฟูภายหลังจากวิกฤตินี้ พบว่าอัตราการใช้งานเครือข่ายออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้อาชญากรไซเบอร์ฉวยโอกาสเข้าไปทำความเสียหายหรือขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งาน ทั้งในส่วนขององค์กรและของส่วนบุคคล โดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว และเป็นการยากที่จะทำการแก้ไขหรือกู้ข้อมูลดังกล่าวกลับคืนมา อีกทั้งอาชญากรอาจนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย

“ดังนั้น องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป จึงควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงภัยคุกคามจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมทั้งหาวิธีการป้องกันจากภัยคุกคามดังกล่าว ซึ่งการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ มิให้เข้าไปสร้างความเสียหายกับข้อมูลและระบบการใช้งานของทั้งส่วนตัวและองค์กร”

Let's block ads! (Why?)



"ต่างๆ" - Google News
September 01, 2020 at 09:11PM
https://ift.tt/2YU1oJH

บีเอสเอให้ปรึกษาฟรี หนุนธุรกิจไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฤหมาย - ผู้จัดการออนไลน์
"ต่างๆ" - Google News
https://ift.tt/36O1zJu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment