Pages

Tuesday, July 28, 2020

ตลาด 'ไอที' ยุคโควิด | แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ - กรุงเทพธุรกิจ

mungkinbelum.blogspot.com

ครึ่งแรกของปี 2563 กำลังผ่านพ้นไปด้วยความรวดเร็ว อาจเป็นเพราะมีเหตุการณ์ต่างๆ มากมายเกิดขึ้นทำให้เรารู้สึกว่ามีปัญหาประดังเข้ามาในเวลาอันแสนสั้น โดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เวลา 6 เดือนแรกของปีหายวับไปราวพริบตา

แม้วันนี้ทุกอย่างดูจะคลี่คลายแต่ปัญหาใหญ่คือความเชื่อมั่น ที่เราเห็นได้จากกรณีการใช้อภิสิทธิ์ของชาวต่างชาติในจังหวัดระยอง ส่งผลให้เกิดการยกเลิกห้องพักและกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่การตรวจสอบล่าสุดก็ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในจังหวัดระยองเลย ปัจจัยเรื่องผลทางจิตวิทยาจึงสำคัญมากต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้

ตัวเลขที่สำนักเศรษฐกิจหลายๆ แห่งสรุปออกมาว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะติดลบถึง 8% ในปีนี้จึงดูสมเหตุสมผล เพราะตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายๆ อย่างสะท้อนให้เห็นว่าเรามีปัญหาสะสมอยู่มาก เนื่องจากโครงสร้างรายได้ของประเทศที่ขึ้นอยู่กับการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ที่ผลกระทบไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่โรงแรมและสายการบินเท่านั้น เพราะซัพพลายเชนของธุรกิจท่องเที่ยวนั้นมีอีกมากมายมหาศาล ซึ่งส่งผลกระทบถึงคนจำนวนมาก

โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีและพนักงานที่ต้องอาศัยรายได้จากเงินเดือนเป็นหลัก

ผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในวันนี้คือตัวเลขมากกว่า 10 ล้านบัญชีของคนไทยที่รอการประนอมหนี้ เพราะขาดรายได้มาผ่อนชำระหนี้ อย่างเช่นจำนวนผู้ถือบัตรเครดิตของไทยกว่า 10 ล้านใบนั้นมีถึงครึ่งหนึ่งที่รักษาสถานะของบัญชีด้วยการชำระหนี้ไม่เกิน 5% หรือไม่ชำระเลย แต่ยังไม่ถูกประเมินเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL เพราะได้รับการผ่อนผันตามมาตรการของรัฐ

นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ภาครัฐต้องเร่งอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านมาตรการต่างๆ ที่เราเห็นไปแล้วก็คือเงิน 4 แสนล้านบาทที่ป้อนเข้ามาในระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ ของทางราชการ และที่กำลังจะตามมาก็คือการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีอีกหลายแสนล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะมีธุรกิจเอสเอ็มอีมาขึ้นทะเบียนราวๆ ล้านราย

แม้สถานการณ์จะยังดูไม่สดใสนักแต่ทุกวิกฤติก็ยังมีทางออกเสมอ โดยเฉพาะด้านไอทีซึ่งเราจะเห็นการเติบโตด้านดิจิทัลสูงเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สถานการณ์โควิดเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว เริ่มจากกระแสการทำงานที่บ้านหรือเวิร์คฟรอมโฮม ทำให้มีความต้องการใช้อุปกรณ์ไอทีเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับระบบการทำงานระยะไกล

ต่อมาคือระบบการเรียนการสอนที่ถูกเร่งให้ปรับตัวรองรับการเรียนแบบออนไลน์หรือเรียนทางไกล ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามีระบบทีวีดาวเทียมเพื่อการศึกษาอยู่แล้วแต่การติดตามการเรียน การส่งการบ้าน การทำงานกลุ่ม ฯลฯ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต เพราะครูกว่าหลายแสนคน และนักเรียนหลายล้านคนนั้นมีอุปกรณ์ไม่มากพอที่จะรองรับแน่นอน

เช่นเดียวกับช่วงเวลานี้ที่สถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยกำลังเริ่มเข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ ก็ล้วนต้องใช้การเรียนแบบผสมผสาน คือใช้การเรียนรู้แบบออนไลน์ควบคู่ไปกับการศึกษาในรูปแบบปกติเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

ทั้งหมดนี้ทำให้ยอดขายของอุปกรณ์และระบบบริการด้านไอทีในเวลานี้ขยายตัวสวนกระแส จนหลายๆ บริษัทมียอดสินค้าคงคลังต่ำเป็นประวัติการณ์ เพราะสั่งอะไรเข้ามาจำหน่ายก็หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว เกินความคาดหมายของคนทำธุรกิจด้านนี้

เช่นเดียวกับธุรกิจบริการส่งของถึงบ้าน และธุรกิจอาหารที่เติบโตขึ้นมากในช่วงสถานการณ์โควิด การมองเห็นโอกาสในภาวะวิกฤติจึงยังคงสำคัญเสมอ และเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักให้ดีเพราะไม่มีใครพยากรณ์ได้ว่าจะมีวิกฤติใดเกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป

Let's block ads! (Why?)



"ต่างๆ" - Google News
July 28, 2020 at 10:24AM
https://ift.tt/3hJDXtO

ตลาด 'ไอที' ยุคโควิด | แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ - กรุงเทพธุรกิจ
"ต่างๆ" - Google News
https://ift.tt/36O1zJu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment