Pages

Saturday, August 22, 2020

คอลัมน์ผู้หญิง - แนวทางสู่มหานครสีเขียว - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

mungkinbelum.blogspot.com

แนวคิดเรื่อง “เมืองสีเขียว” (Green City) ในประเทศไทย มีการกล่าวถึงมาเป็นระยะ และกลายเป็นโครงการของทั้งทางภาครัฐ และภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต้นแบบต่างๆ โดยรูปธรรมที่เกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนว่าทำหน้าที่ได้เพียงเป็นศูนย์ต้นแบบในการเยี่ยมชมและศึกษาสำหรับคนที่สนใจหรือนักท่องเที่ยวเท่านั้น ที่สำคัญ ความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในบริบทของเมืองแห่งความร่มรื่นที่แท้ยังอยู่แค่เพียงเรื่องของการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาและยกระดับเมืองในเรื่องของศักยภาพอื่นๆ มิได้ถูกรวมเข้าไปในแผนงานอย่างที่ควรจะเป็นตามบริบทของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างประโยชน์และความยั่งยืนในเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน เศรษฐกิจ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสมดุลและสุนทรียะ

สำหรับ European Green City Index หรือตัวชี้วัดสำหรับมาตรฐานของการเป็นเมืองสีเขียว ที่ทางกลุ่มประเทศสมาชิกแห่งยุโรปได้กำหนดร่วมกันในการออกแบบและวางผังให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้มีความร่มรื่นและรื่นรมย์ ประกอบไปด้วย 8 ตัวชี้วัด อันได้แก่ 1.การกำหนดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2.ระดับการใช้พลังงาน (Energy) 3.จำนวนอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม (Buildings) 4.ปริมาณของระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Transport) 5.ระบบการจัดการขยะและของเสีย (Waste and land-use) 6.ปริมาณการใช้น้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย (Water) 7.ปริมาณไนโตรเจนในอากาศ ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของอากาศ (Air quality) และ 8.ระบบการจัดการบริหารเมือง (Environmental governance) เหล่านี้คือเกณฑ์หลักในการเดินหน้าสู่การเป็นเมืองสีเขียวอย่างแท้จริง


นอกจากนี้ ทาง European Green City Index ยังแนะนำกลไกในการบริหารจัดการเมืองให้เกิดประสิทธิภาพตามที่ตัวชี้วัดระบุด้วยว่า 1.ต้องมีผู้นำประเทศและการบริหารจัดการที่ดี 2.ต้องมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ 3.ต้องมีผู้นำท้องถิ่นที่มีทักษะในการลงมือปฏิบัติ4.ต้องสามารถบูรณาการการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในองคาพยพต่างๆได้อย่างครอบคลุม 5.ต้องมีงบประมาณในการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ 6.ต้องมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแข็งขัน7.ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีแขนงต่างๆ 8.ต้องใช้กฎหมายเป็นและมีทักษะในด้านการเจรจาต่อรอง(ในกรณีการบริหารจัดการชุมชนแออัดที่บุกรุกพื้นที่) และ 9.ต้องชำนาญการวางแผนหรือเขียนนโยบายสำหรับจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพและความยากจน (ไม่ใช่แค่ยกระดับพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมแต่ต้องยกระดับคนตรงนั้นควบคู่ไปด้วย) เป็นต้น

ส่วนในเรื่องของการดำเนินการที่ผ่านมาในประเทศนั้น เท่าที่รวบรวมมาได้ก็สามารถแบ่งเป็น 4 แผนงาน ที่เป็นแกนหลักในการสร้างเมืองสีเขียว ดังนี้

1.การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ หรือเพิ่มบริเวณสวน ที่ให้น้ำหนักไปในเรื่องของการปรับภูมิทัศน์ที่สบายตา และสบายใจที่พบเห็น กระนั้น ก็ยังช่วยในการระบายความร้อน รวมไปถึงการเปิดพื้นที่สำหรับชุมชนเพื่อการสันทนาการ

2.การให้ความสำคัญต่อแหล่งพลังงานสะอาด ที่สามารถกลายเป็นพลังงานหมุนเวียนเพื่อการนำมาใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานลม หรือพลังงานจากแสงแดด

3.การจัดการระบบสาธารณูปโภคในอาคารหรือสำนักงาน ที่พยายามไม่สร้างภาระทางสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไหลเวียนน้ำอย่างคุ้มค่า การบำบัดน้ำเสีย การสร้างขยะที่ต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้น

4.การอำนวยความสะดวกทางด้านระบบขนส่งมวลชนและการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายให้ครอบคลุมและสะดวกสบายในการใช้บริการ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่นอกเหนือการควบคุม รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในการใช้ทางสัญจรด้วยการเดินหรือจักรยานที่รื่นรมย์และปลอดภัย

อันที่จริง มีอีก 1 แผนงาน คือ การควบคุมอัตราความหนาแน่นของประชากรในเมือง ซึ่งต้องถือว่าล้มเหลวมากในเมืองใหญ่ เพราะเกินขีดจำกัดของหน่วยงานที่จะเข้าไปทำได้ (ส่วนใหญ่จะไปเกิดที่เมืองต้นแบบที่อยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ที่ความเจริญในด้านต่างๆยังตามไปไม่ถึง) กระนั้น ในแผนงานทั้งหมดที่กล่าวมา ก็ยังขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ รวมไปถึงการบูรณาการให้เป็นโครงงานสำเร็จรูปที่จะกำหนดเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ชัดเจนในการทดลองและประเมินผลในแง่ของความคุ้มค่าในงบประมาณ ภายใต้ประสิทธิภาพต่อเมืองและความพึงพอใจของประชาชน ตรงนี้เองที่ทำให้ “เมืองสีเขียว” จึงเป็นได้แค่นิทรรศการหรือพื้นที่จำลองเท่านั้น โดยเฉพาะในมหานคร หรือเมืองใหญ่ๆ ที่มีความเจริญในด้านต่างๆ เป็นอุปสรรคสำหรับการยกระดับในด้านสิ่งแวดล้อม

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เพราะสำหรับเมืองที่ความเจริญแล้วอย่าง“โตเกียว” ประเทศญี่ปุ่น ก็เคยตั้งเป้าว่าจะกลายเป็นเมืองสีเขียวให้ได้ภายใน 2 ปีก่อนถึงการจัดงานโอลิมปิกในปี 2020(มีอันต้องเลื่อนไปเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19) และนั่นก็เป็นที่มาของงบประมาณมหาศาล รวมไปถึงความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะ “แม่เมือง” อย่าง “ยูริโกะ โคอิเกะ” ผู้ว่าการกรุงโตเกียวคนปัจจุบัน

ภายใต้แนวคิด “เมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม” (Eco-friendly city) จึงมีการสร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการปูแผงโซลาร์เซลล์รอบเมืองโตเกียว และการเอาไปติดตั้งในสถานที่สำคัญของเทศบาลกรุงโตเกียว รวมไปถึงตามสถานที่ต่างๆ เพิ่มขึ้นในช่วงปีงบประมาณถัดไปด้วยเป้าหมายที่โตเกียวจะสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้มากถึง 30% ภายในปี 2030

นอกจากนั้น โตเกียวยังตั้งเป้าหมายสำหรับการรีไซเคิล (Recycle) ขยะพลาสติกหรือผลิตภัณฑ์ใส่อาหาร 65% เพื่อการใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่อีก 62% ทั้งในโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ ต่อยอดไปถึงการดำเนินวิถีชีวิตทั่วไปของคนในพื้นทีเช่นกันกับทีมงานของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ ก็ยืนยันว่าจะใช้การเช่าอุปกรณ์มาใช้ทำการแข่งขันแทนการซื้อใหม่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างขยะหรือของใช้ที่ไม่จำเป็นโดยใช่เหตุ รวมไปถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรศัพท์มือถือไม่ใช้แล้วมาดัดแปลงเป็นเหรียญรางวัลอีกด้วย

แน่นอนว่า วาระของโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ อาจเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ในการสร้าง “เมืองแห่งความฝัน”ขึ้นมาได้ แต่สำคัญเหนืออื่นใด คือความร่วมใจของคนในพื้นที่ ซึ่งได้มีฉันทามติร่วมกันในการยกระดับการพัฒนาเมืองของตนเองให้ไปในทิศทางที่ต้องการดังนั้น เชื่อว่า ในประเทศไทยเองก็คงไม่ต่างกันในเมื่อเรามีรูปแบบ หรือต้นแบบ (Model) ในการเป็นเมืองสีเขียวกระจัดกระจายอยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนหลากหลายโครงการ ทำไมเราไม่ลองเอามา “ตกผลึก”ร่วมกัน แล้วทำให้มันกลายเป็นแนวทางแห่งการพัฒนาเมืองขึ้นมาจริงๆ เสียที เพราะคุณภาพชีวิตดีๆ ไม่ควรไปหยุดที่แค่การประชาสัมพันธ์

Let's block ads! (Why?)



"ต่างๆ" - Google News
August 23, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3j8hsj0

คอลัมน์ผู้หญิง - แนวทางสู่มหานครสีเขียว - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ต่างๆ" - Google News
https://ift.tt/36O1zJu
Home To Blog

No comments:

Post a Comment